.....สวัสดี
ค่ะ วันนี้เราจะมาเสนอภาษาของประเทศเพื่อนบ้านของเรา นั่นก็คือ ประเทศพม่า ลองมาดูกันนะคะว่า
ภาษาของประเทศพม่าเป็นอย่างไร.....
ภาษาพม่า (พม่า: ) เป็นราชการของประเทศพม่า
จัดอยู่ในในตระกูลภาษาย่อยทิเบต-พม่า อันเป็นสาขาย่อยของตระกูลภาษา
โดยเป็นภาษาแม่ของคนประมาณ 32 ล้านคนในพม่า และเป็นภาษาที่สองของชนกลุ่มน้อยในพม่า และในประเทศอินเดีย
ประเทศบังคลาเทศ ประเทศมาเลเซีย ประเทศไทย และสหรัฐอเมริกา
ภาษาพม่าเป็นภาษาที่มีระดับเสียง หรือวรรณยุกต์ มีวรรณยุกต์ 4 เสียงและเขียนโดยใช้อักษรพม่า ซึ่งดัดแปลงจากอักษรมอญอีกทอดหนึ่ง
และจัดเป็นสมาชิกในตระกูลอักษรพราหมี รหัส ISO 639 สำหรับภาษาพม่าคือ
''my'' และรหัส SIL คือ BMS
ภาษาถิ่นและสำเนียง
ภาษาพม่ามาตรฐานคือสำเนียงย่างกุ้ง ภาษาถิ่นในพม่าภาคเหนือและภาคใต้จะต่างจากภาษากลาง
ภาษาถิ่นในเขตยะไข่หรืออารกัน ยังมีเสียง /ร/
แต่สำเนียงย่างกุ้งออกเสียงเป็น /ย/ ภาษาพม่าแบ่งอย่างกว้างๆได้ 2 ระดับ คือระดับทางการใช้งานวรรณคดี งานราชการและวิทยุกระจายเสียง
ระดับไม่เป็นทางการใช้ภายในครอบครัวและกับเพื่อน
พระภิกษุชาวพม่ามักพูดกันเองด้วยภาษาบาลี ซึ่งได้รับอิทธิพลจากพุทธศาสนา
การถอดเป็นอักษรโรมัน
ภาษาพม่าไม่มีระบบการถอดเป็นอักษรโรมันที่แน่นอน
คำหลายคนสะกดต่างจากที่ออกเสียง เช่น คำว่าพระพุทธเจ้า ออกเสียงว่า pha-ya แต่เขียนว่า bu-ya การถอดภาษาพม่าเป็นอักษรโรมันจึงทำได้ยากแต่พอจะใช้การถอดเป็นอักษรโรมันของภาษาบาลีมาเทียบเคียงได้
ไวยากรณ์
การเรียงคำเป็นแบบ ประธาน-กรรม-กริยา ยกเว้นคำว่า ga (เป็น) ซึ่งจะวางต่อจากประธาน คำสรรพนามเปลี่ยนตามเพศและสถานะของผู้ฟัง
เป็นภาษาพยางค์เดี่ยว แต่มีรากศัพท์และการเติมคำอุปสรรค
การเรียงคำในประโยคไม่มีบุพบท สันธานแต่ใช้การเติมปัจจัย
คำคุณศัพท์
คำคุณศัพท์มาก่อนคำนาม เช่น chuo-dé lu (สวยงาม
+ dé + คน = คนสวย) หรือตามหลังนาม เช่น lu chuo (คนสวย) การเปรียบเทียบใช้คำอุปสรรค à-คำคุณศัพท์-ปัจจัย
zon คำคุณศัพท์บอกจำนวน ตามหลังคำนาม
คำกริยา
รากศัพท์ของคำกริยามักเติมปัจจัยอย่างน้อย 1 ตัว
เพื่อบอกกาล ความสุภาพ รูปแบบกริยา เป็นต้น ไม่มีการใช้คำสันธาน
รูปกริยาไม่เปลี่ยนตามบุคคล จำนวน หรือเพศของประธาน ตัวอย่างเช่น คำกริยา sá
(กิน) เป็น
sá-dè = กิน
ปัจจัย dè ใช้แสดงปัจจุบันกาลหรือใช้เน้นย้ำ
sá-gè-dè = กินแล้ว ปัจจัย gè/kè แสดงอดีตแต่ไม่จำเป็นต้องใช้เสมอไป
ปัจจัย dè ในที่นี้เป็นการเน้นย้ำ
sá-nei-dè = กำลังกิน nei เป็นอนุภาคแสดงว่าการกระทำนั้นกำลังเกิดขึ้น
sá-bi = กำลังกินอยู่
ปัจจัย bi นี้ใช้กับการกระทำที่ประธานเริ่มกระทำและยังไม่เสร็จสิ้น
sá-mè = จะกิน
อนุภาค mè นี้ใช้แสดงอนาคตและยังไม่เกิดขึ้น
sá-daw-mè = จะกิน(ในไม่ช้า) อนุภาค daw ใช้กับเหตุการณ์ที่ใกล้จะเกิดขึ้น
คำนาม
คำนามภาษาพม่าทำให้เป็นพหูพจน์โดยเติมปัจจัย dei (หรือ tei ถ้ามีเสียงตัวสะกด) อาจใช้ปัจจัย myà
ที่แปลว่ามากได้ด้วย ตัวอย่างเช่น nwá = วัว nwá-
dei = วัวหลายตัว
จะไม่ใช้ปัจจัยแสดงพหูพจน์เมื่อมีการแสดงการนับคำนาม เช่น เด็ก 5 คน ใช้ว่า kelei (เด็ก) ngá (5) yauk (คน)
ลักษณนาม
ภาษาพม่ามีลักษณนามเช่นเดียวกับภาษาจีน ภาษาไทย และภาษามาเลย์
คำลักษณนามที่ใช้ทั่วไปได้แก่
bá ใช้กับคน
(เฉพาะพระสงฆ์และแม่ชี)
hli ใช้กับสิ่งที่เป็นชิ้น
เช่น ขนมปัง
kaung ใช้กับสัตว์
ku ใช้กับสิ่งไม่มีชีวิตโดยทั่วไป
kwet ใช้กับสิ่งที่บรรจุของเหลวเช่น
ถ้วย
lóun ใช้กับวัตถุรุปกลม
pyá ใช้กับวัตถุแบน
sin หรือ
zín ใช้กับสิ่งที่มีล้อ เช่นรถ
su ใช้กับกลุ่ม
ú ใช้กับคน
(เป็นทางการ)
yauk ใช้กับคน
(ไม่เป็นทางการ)
คำสรรพนาม
คำสรรพนามที่เป็นรูปประธานใช้ขึ้นต้นประโยค รูปกรรมจะมีปัจจัย –go
ต่อท้าย ตัวอย่างคำสรพนาม เช่น
ฉัน เป็นทางการ ผู้ชายใช้
kyaw-naw ผู้หญิงใช้
kyaw-myaไม่เป็นทางการใช้ nga พูดกับพระสงฆ์ใช้
da-ga หรือ da-be-daw (หมายถึง
นักเรียน)
เธอ ไม่เป็นทางการใช้ nei หรือ min เป็นทางการใช้
a-shin หรือ ka-mya
เรา ใช้ nga-do
พวกคุณ ใช้ nei-do
เขา ใช้ thu
พวกเขา ใช้ thu-do
มัน หรือ นั่น ใช้ (ai)ha
คำศัพท์
คำศัพท์ส่วนใหญ่มาจากภาษาตระกูลทิเบต-พม่า ศัพท์เกี่ยวกับศาสนา
การศึกษา ปรัชญา รัฐบาลและศิลปะ ได้มาจากภาษาบาลีเป็นส่วนใหญ่ คำยืมจากภาษาอังกฤษมักเกี่ยวกับธุรกิจหรือการปกครองสมัยใหม่ คำยืมจากภาษาฮินดีมักเกี่ยวกับอาหารและการปรุงอาหาร
ขอบคุณที่มา http://th.wikipedia.org/wiki/ภาษาพม่า
นอกจากภาษาพม่า
ซึ่งเป็นภาษาราชการแล้ว พม่ามีภาษาหลักที่ใช้งานในประเทศถึงอีก 18 ภาษา
โดยแบ่งตามตระกูลภาษาได้ดังนี้
- ตระกูลภาษาออสโตรเอเชียติก
ได้แก่ ภาษามอญ ภาษาปะหล่อง ภาษาปะลัง (ปลัง) ภาษาประรวก และภาษาว้า
- ตระกูลภาษาซิโน-ทิเบตัน ได้แก่
ภาษาพม่า (ภาษาราชการ) ภาษากะเหรียง ภาษาอารากัน (ยะไข่) ภาษาจิงผ่อ
(กะฉิ่น) และภาษาอาข่า
- ตระกูลภาษาไท-กะได ได้แก่
ภาษาฉาน (ไทใหญ่) ภาษาไทขึน ภาษาไทลื้อ และภาษาไทคำตี่
- ตระกูลภาษาม้ง-เมี่ยน ได้แก่
ภาษาม้งและภาษาเย้า (เมี่ยน)
- ตระกูลภาษาออสโตรนีเชี่ยน
ได้แก่ ภาษามอเก็นและภาษาสะลน
|
คำทักทาย (ภาษาพม่า : ภาษาไทย)
มิงกะลาบา : สวัสดี (ใช้ได้ตลอดวัน)
เจซูติน บาแด : ขอบคุณมาก
ควินโละ บ่าหน่อ : ขอโทษ (Excuse me)
หม่อง (Maung) : ใช้เรียกเด็กผู้ชายและคนหนุ่มโสด
อู (U) : กระเด๊าะ : ขอโทษ (Sorry)ใช้เรียกผู้ใหญ่หรือผู้อาวโสชาย
ม่ะ (Ma) : ใช้เรียกเด็กผู้หญิงและสาวโสด
ดอว์ (Daw) : ใช้เรียกสตรีที่มีการศึกษา
อะโก / อะมะ : พี่ชาย / พี่สาว
อะเผ่ / อะเหม่ : พ่อ / แม่
อะโพ / อะพวา : คุณปู่คุณตา / คุณย่าคุณยาย
เย่าจา / เหมมะ : ผู้ชาย / ผู้หญิง
ยีซา : แฟน คนรัก
หลีน / มะย้า : สามี / ภรรยา
หยิ่นมอง : คนขับรถ
ซายา / ซายามะ : ครูชาย/ครูหญิง
ซิดดั้ด/เย : ทหาร/ตำรวจ
ไหน่หงั่นชาตา : ชาวต่างประเทศ
โบล่ : ฝรั่ง โยเดีย : คนไทย
เหมี่ยนหม่า : ชาวพม่า
ล่ะเด่,ช้อเด่ : สวยมาก, น่ารักมาก
ค้านเด่ : หล่อมาก
ตาตา : ลาก่อน
• ทั่วไป
ดีเนะ : วันนี้
มาเนะก้ะ : เมื่อวานนี้
มาเนะเผี่ยน : พรุ่งนี้
ซ้อซ้อ : เช้าๆ
มาเนะ : ตอนเช้า
นิเหล่ : ตอนกลางวัน
เงียะเหน่ : ตอนเย็น
เงียะ : กลางคืน
ตัว : ไป
เชตัว : ไปตลาด
ฉิฉิ่น : เดิน
ปี : วิ่ง
ขะยี : เดินทาง
ตินบอตัว : ตรงไป
หมวดอาหาร
ไบซ้าเดะ : หิว
ทะมิ้นซ้าเดะ : หิวข้าว
อะยาต่าชิเดะ : อร่อยมาก
วาบิ : อิ่ม
เหย่เกโดะ : น้ำแข็งก้อน
เหย่ต้ะ : น้ำเปล่า
เหย่นวย : น้ำร้อน
เหย่เอะ : น้ำเย็น
หงะปยาเหย่ : น้ำปลา
กะจา : น้ำตาล
ทะมิ้น : ข้าวสวย
ซามปะยื่ว : ข้าวต้ม
เก้างึน : ข้าวเหนียว
เต็ดเต่ดลก : มังสวิรัติ
อะย่วย : ผัก
บ่าล่อวเหล่ : เท่าไหร่
• การนับเลข
ติท = 1
หนิท = 2
โตง = 3
เล = 4
งา = 5
ชัก = 6
คูนิ = 7
ชิท = 8
โก = 9
ติทเซ = 10
ติทยาร์ = 100
ติทท็อง = 1000