วันศุกร์ที่ 14 กันยายน พ.ศ. 2555

ประเทศสุดท้ายในหนึ่งในอาเซียน นั่นก็คือประเทศไทย ซึ่งเป็นประเทศของคนไทยทุกคน และภาษาที่ใช้นั้นก็คือ ภาษาไทย เป็นภาษาที่คนไทยทุกคนต้องรู้จักค่ะ

ไทษาจำติขอไท




ภาษาไทยเป็นภาษาที่เก่าเเก่ที่สุดในประเทศเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มีรากฐานมาจากออสโตร ไทย ซึ่งมีความคล้ายคลึงกับภาษาจีน มีหลายคำที่ขอยืมมาจากภาษาจีน

             พ่อขุนรามคำเเหงได้ประดิษฐ์อักษรไทยขึ้นเมื่อปี พศ 1826 (คศ1283) มี พยัญชนะ 44 ตัว (21 เสียง), สระ 21 รูป (32 เสียง), วรรณยุกต์ 5 เสียง คือ เสียง สามัญ เอก โท ตรี จัตวา ภาษาไทยดัดเเปลงมาจากบาลี เเละ สันสกฤต

           คนไทยเป็นผู้ที่โชคดีที่มีภาษาของตนเอง เเละมีอักษรไทย เป็นตัวอักษร ประจำชาติ อันเป็นมรดกล้ำค่าที่บรรพบุรุษได้สร้างไว้ ซึ่งเป็นเครื่องเเสดงว่าไทยเราเป็นชาติที่มีวัฒนธรรมสูงส่งมาเเต่โบราณกาลเเละยั่งยืนมาจนปัจจุบัน คนไทยผู้เป็นเจ้าของภาษา ควรภาคภูมิใจที่ชาติไทยใช้ภาษาไทย เป็นภาษาประจำชาติมากว่า 700 ปีเเล้ว เเละจะยั่งยืนตลอดไป ถ้าทุกคนตระหนักในความสำคัญของภาษาไทย

          ภาษาเป็นวัฒนธรรมที่สำคัญของชาติ ภาษาเป็นสื่อใช้ติดต่อกันเเละทำให้วัฒนธรรมอื่นๆเจริญขึ้น เเต่ละภาษามีระเบียบของตนเเล้วเเต่จะตกลงกันในหมู่ชนชาตินั้น ภาษาจึงเป็นศูนย์กลางยืดคนทั้งชาติ ดังข้อความ ตอนหนึ่งในพระราชนิพนธ์ในพระบาท สมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว เรื่อง "ความเป็นชาติโดยเเท้จริง" ว่า ภาษาเป็นเครื่องผูกพันมนุษย์ต่อมนุษย์เเน่นเเฟ้นกว่าสิ่งอื่น เเละไม่มีสิ่งใด ที่จะทำให้คนรู้สึกเป็นพวกเดียวกันหรือเเน่นอนยิ่งไปกว่าภาษาเดียวกัน รัฐบาลทั้งปวงย่อมรู้สึกในข้อนี้อยู่ดี เพราะฉะนั้น รัฐบาลใดที่ต้องปกครองคนต่างชาติต่างภาษา จึงต้องพยายามตั้งโรงเรียนเเละออกบัญญัติบังคับ ให้ชนต่างภาษาเรียนภาษาของผู้ปกครอง เเต่ความคิดเห็นเช่นนี้ จะสำเร็จตามปรารถนาของรัฐบาลเสมอก็หามิได้ เเต่ถ้ายังจัดการเเปลง ภาษาไม่สำเร็จอยู่ตราบใด ก็เเปลว่า ผู้พูดภาษากับผู้ปกครองนั้นยังไม่เชื่ออยู่ตราบนั้น เเละยังจะเรียกว่าเป็นชาติเดียวกันกับมหาชนพื้นเมืองไม่ได้ อยู่ตราบนั้น ภาษาเป็นสิ่งซึ่งฝังอยู่ในใจมนุษย์เเน่นเเฟ้นยิ่งกว่าสิ่งอื่น"


          ดังนั้นภาษาก็เปรียบได้กับรั้วของชาติ ถ้าชนชาติใดรักษาภาษาของตนไว้ได้ดี ให้บริสุทธิ์ ก็จะได้ชื่อว่า รักษาความเป็นชาติ คนไทยทุกคนใช้ภาษาไทยเป็นสื่อความรู้สึกนึกคิดเท่านั้นยังไม่เพียงพอ ควรจะรักษาระเบียบ        ความงดงามของภาษา ซึ่งเเสดงวัฒนธรรม เเละ เอกลักษณ์ประจำชาติไว้อีกด้วย ดัง พระราชดำรัส สมเด็จพระเทพ รัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี ตอนหนึ่งว่า

          "ภาษานอกจากจะเป็นเครื่องสื่อสารเเสดงความรู้สึกนึกคิดของคนทั่วโลก เเล้ว ยังเป็นเครื่องเเสดงให้เห็นวัฒนธรรม อารยธรรม เเละเอกลักษณ์ ประจำชาติอีกด้วย ไทยเป็นประเทศซึ่งมีขนบประเพณี ศิลปกรรมเเละภาษา ซึ่งเจริญรุ่งเรืองมาแต่อดีตกาล เราผู้เป็นอนุชนจึงควรภูมิใจ ช่วยกัน ผดุงรักษามรดกทางวัฒนธรรมอันเป็นทรัพย์สินทางปัญญาที่บรรพบุรุษได้ อุตส่าห์สร้่างสรรค์ขึ้นไว้ให้เจริญสืบไป "

คำทักทายภาษาไทย ที่คนไทยนิยมใช้ คือ
สวัสดี
ขอบคุณ
ขอโทษ
กรุณา
สบายดีไหม...?
กี่โมงแล้ว…?
อยู่ที่ไหน….?
ลาก่อน

วันอาทิตย์ที่ 2 กันยายน พ.ศ. 2555

สวัสดีค่ะ วันนี้จะพามาเรียนรู้กับภาษาเขมร ซึ่งเป็นภาษาทางราชการของประเทศกัมพูชา ลองมาดูซิว่า คำศัพท์แต่ละคำนั้น นำมาใช้พูดเหมือนเรารึเปล่า ไปดูกันค่ะ...




 ภาษา
ภาษาเขมรเป็นภาษาราชการ ส่วนภาษาที่ใช้โดยทั่วไป ได้แก่ อังกฤษ ฝรั่งเศส เวียดนาม จีน และไทย


มีหลักในการสังเกตดังนี้    
๑) คำภาษาเขมรมักไม่มีวรรณยุกต์
๒) คำภาษาเขมรมักไม่ประวิสรรชนีย์   
๓) มักใช้  ร  ล  ญ  เป็นตัวสะกดในมาตรา  แม่ กน
๔) มักใช้  จ  ส  เป็นตัวสะกดในมาตรา  แม่ กด
๕) มักเป็นคำควบกล้ำและอักษรนำ
๖) คำราชาศัพท์บางคำมาจากภาษาเขมร
๗) คำที่ขึ้นต้นด้วย  บัง    บัน    บำ     บรร   มักมาจากภาษาเขมร  ๘) คำที่ขึ้นต้นด้ววย   กำ   คำ   จำ    ชำ    ดำ   ตำ     ทำ  มักมาจากภาษาเขมร
๙) คำภาษาเขมรส่วนใหญ่มักแผลงคำได้




                                                                 คำทักทายพูดคุย


สวัสดี

ซัวซไดย, จุมเรี้ยบซัว
สวัสดี(ตอนเช้า)
อรุณซัวซไดย
สบายดีหรือ
ซกสะบายดี (ถาม)
สบายดีค่ะ(ครับ)
จ๊ะ (บาด) ซกสะบายดี
ขอให้มีสุขภาพดี
สุขะเพียบละออ
ขอลา
โซ้มเรีย, โซ้มจุมเรี้ยบเรีย
ลาก่อน
เรียนซันเฮย
ขอบคุณ
ออกุน, ออกุนเจริญ
ผม, ฉัน
ขยม
คุณชื่ออะไร
เตอเนี้ยะชัวเว่ย
ฉันชื่อสมชาย
ขยมฉม้วกสมชาย
ฉันไม่เข้าใจ
ขยมเมิ่นยวลเต๊
ฉันขอโทษ
ขยมโซ้มโต๊ก
                               
                                 ซื้อของ : ช้อปปิ้ง

ของนี้ราคาเท่าไหร่
โปร๊กบอกนี้ทรัยป่นหม้าน
แพงไป
ทรัยเปก
ลดได้ไหม
จ๊กทรัยบานเต๊
ไม่มีเงิน
อ็อดเมียนโร้ย
เครื่องคิดเลข
เกรื้องกึ๊ดเลข

                                     
                                                            ศัพท์ทั่วไป

                                                                                        

ห้องน้ำ
ต๊บตึ๊ก
ขออีก/เอาอีก
ซมเตี๊ยบ
จิตแพทย์
แป๊ดวิกอลจารึก
เจ้าชู้
เปรี๊ยนเนียร
ช่างถ่ายรูป
เจียงถอดรูป
เข็มขัด
ซ้ายกราหวัด
เข้านอน
โจรล-เด๊ก
ง่วงนอน 
งองเงยเด๊ก
ฝัน
สุบิน
เขียนจดหมาย
ซอเซ้ ซ็อมบท
เขียนแผนที่
ซอเซ้ แผนตี้
วาดรูป
กู๊รูปเพรียบ
เช็ค
มูลเตียนนะบัด
แชมพูสระผม
ซาบู๊เกาะเสาะ
เครื่องบิน
ยนเฮาะ (ยนต์เหาะ)
โฆษก
เนี้ยะโปรกา

ตลาด                                                          พซา(ออกเสียงซาก็ได้)
                        
                             การนับตัวเลข


0
โซม
1
มวย
2
ปี
3
เบ็ย
4
บวย
5
ปรำ
6
ปรำมวย
7
ปรำปี
8
ปรำเบ็ย
9
ปรัมบวน
10
ด็อบ
15
ด็อบปรำ
20
มวยไพ
30
สามซับ
40
ซายซับ
50
ห้าซับ
60
หกซับ
70
เจ็ดซับ
80
แปดซับ
90
เก้าซับ
100
มวยร้อย
1,000
มวยปอน
10,000
มวยมื่น
100,000
มวยแสน
                                                                                         
                                อาหารการกิน

กินข้าวอร่อยไหม
บายชงัลเต๊
อร่อย
ชงัล
อิ่ม
แช-อต
น้ำแข็ง
ตึ๊กกอ
น้ำแข็งยูนิต
ตึ๊กกอดอม
พริกป่น
มะเต๊ะหม็อด
มะนาว
ซมโกร๊ซฉมาร์
ข้าวหน้าหมู
บายจรู๊ก
ข้าวหน้าไก่
บายบวน
ข้าวผัด
บายชา
ข้าวผัดไก่
บายชามอน
ใส่ไข่ดาว
ไซปองเจียน
ขนมจีน
แบ็งจ็อก
ปลาทอด
เตร็ยเจี่ยน
กาเหลาลูกชิ้น
เประฮั้ดสะโคซุป
ก๋วยเตี๋ยวลูกชิ้น
กุยเตียวประฮั้ดสะโค
บุหรี่
บาเร็ย
กาแฟ
กาเฟ
กาแฟดำ
กาเฟเขมา
ขนม
หน้ม
แกงเผ็ด,ต้มยำ
ซ็อมลอมจู
กระดาษชำระ
เกราะด๊ะอะนะมัย
ไม้จิ้มฟัน
เฌอจักทมึน
คิดเงิน
กึ๊ดโรย